วันอังคารที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

เทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษา
10.1.1 ความหมายของเทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษา ดังกล่าวแล้วว่า เทคโนโลยีการศึกษา เป็นการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสิ่งประดิษฐ์ หรือใช้ ร่วมกับกระบวนการทางจิตวิทยา และอื่น ๆ เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเปลี่ยนพฤติกรรมการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ การใช้เทคโนโลยีมิได้หมายความว่าจะมีประสิทธิภาพคงที่เสมอไป ประสิทธิภาพของเทคโนโลยีใด ๆ ก็อาจจะเปลี่ยนแปลงได้ เมื่อเปลี่ยนแปลงสถานที่ เปลี่ยนแปลงเวลา เปลี่ยนบุคคลที่ใช้และบุคคลที่ถูกนำไปใช้ เปลี่ยนแปลงสถานที่แวดล้อม ก็อาจจะทำให้ประสิทธิภาพของเทคโนโลยีนั้นเปลี่ยนแปลงไปได้ ในกรณีที่เป็นการเปลี่ยนแปลงที่จะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพให้สูงขึ้น เทคโนโลยีนั้นก็จะยังคงใช้ต่อไป แต่เมื่อประสิทธิภาพลดลง เทคโนโลยีนั้น ๆ จึงต้องมีการปรับปรุงจุดบกพร่องบางส่วน หรือนำเอาวิธีการใหม่ ๆ มาใช้ ซึ่งวิธีการที่ได้รับการปรับปรุงใหม่หรือวิธีการใหม่ที่นำมาใช้เรียกว่า นวัตกรรม (Innovation) ทอมัส ฮิวซ์ (อ้างในบุญเกื้อ ควรหาเวช, 2542:13) ให้ความหมายของคำว่า นวัตกรรมว่า "เป็นการนำวิธีการใหม่ ๆ มาปฏิบัติหลังจากได้ผ่านการทดลองหรือได้รับการพัฒนามาเป็นขั้น ๆ แล้ว โดยเริ่มมาตั้งแต่การคิดค้น (Invention) การพัฒนา (Development) ซึ่งอาจจะเป็นรูปของโครงการทดลองปฏิบัติก่อน (Pilot Project) แล้วจึงนำมาปฏิบัติจริง ซึ่งมีความแตกต่างไปจากการปฏิบัติเดิมที่เคยปฏิบัติมา" มอตัน (อ้างในบุญเกื้อ ควรหาเวช, 2542:13) กล่าวว่า "นวัตกรรม หมายถึง การทำให้ใหม่ขึ้นอีกครั้ง (Renewal) ซึ่งหมายถึงการปรับปรุงของเก่าและพัฒนาศักยภาพของบุคลากรตลอดจนหน่วยงานหรือองค์การนั้น ๆ นวัตกรรมไม่ใช่การขจัดหรือล้มล้างสิ่งเก่าให้หมดไป แต่เป็นการปรับปรุงแต่งและพัฒนาเพื่อความอยู่รอดของระบบ" ไชยยศ เรืองสุวรรณ (อ้างในบุญเกื้อ ควรหาเวช, 2542:13) กล่าวว่า "นวัตกรรม หมายถึงวิธีการปฏิบัติใหม่ ๆ ที่แปลกไปจากเดิม โดยอาจจะได้มาจากการคิดค้นพบวิธีการใหม่ ๆ ขึ้นมาหรือมีการปรับปรุงของเก่าให้เหมาะสมและสิ่งทั้งหลายปลายทางอย่างมีประสิทธิภาพขึ้น" ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้โดยสรุปว่า "นวัตกรรม เป็นการปรับปรุงดัดแปลงวิธีการเดิม หรือนำเอาวิธีการใหม่มาใช้ในกระบวนการดำเนินงานใดๆ แล้วทำให้ประสิทธิภาพสูงขึ้นกว่าเดิม"
10.1.2 เกณฑ์ในการพิจารณานวัตกรรม เพื่อที่จะสามารถแยกแยะได้ว่าวิธีการที่นำมาใช้ในกระบวนการใด ๆ นั้น จะเรียกว่า เทคโนโลยีและนวัตกรรม ศาสตราจารย์ ดร.ชัยยงค์ พรหมวงศ์ (2526:37 ได้กล่าวถึง) เกณฑ์ของนวัตกรรมไว้ว่าประกอบด้วยลักษณะ 4 ประการคือ
1) เป็นวิธีการใหม่ทั้งหมดหรือเกิดจากการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงวิธีการเดิม
2) มีการนำเอาระบบ (System) พิจารณาองค์ประกอบของกระบวนการดำเนินการ นั้น ๆ
3) มีการวิจัย หรืออยู่ระหว่างการวิจัยว่า ทำให้กระบวนการดำเนินงานนั้น ๆ มี ประสิทธิภาพสูงขึ้นกว่าเดิม
4) ยังไม่เป็นส่วนหนึ่งของระบบในปัจจุบัน กล่าวคือหากวิธีการนั้น ๆ ได้รับการนำเอา ไปใช้อย่างกว้างขวางโดยทั่วไปแล้ว และวิธีการนั้นมีประสิทธิภาพก็จะถือว่าวิธีการนั้น ๆ นับเป็นเทคโนโลยี
10.1.3 ความสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยีและนวัตกรรม จะเห็นได้ว่าเทคโนโลยีและนวัตกรรมมีความสัมพันธ์ต่อเนื่องกัน ให้นักศึกษาดูแผนภาพ ข้างล่างนี้
ลักษณะและการทำงานของคอมพิวเตอร์ ความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีเป็นไปอย่างรวดเร็ว คอมพิวเตอร์มีบทบาทต่อชีวิตประชาชนโดยทั่วไปจนกล่าวได้ว่า ยุคนี้เป็นยุคของคอมพิวเตอร์ก็ว่าได้ ดังนั้นนักศึกษาจึงมีความจำเป็นที่จะต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ เพื่อให้สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีผู้ให้ความหมายของคอมพิวเตอร์หลายท่านด้วยกัน สุวิช แทนปั้น (2533:317) ให้ความหมายของคอมพิวเตอร์ว่า "คืออุปกรณ์อิเล็กทรอ นิกส์ อย่างหนึ่ง ซึ่งสามารถรับข้อมูลและชุดคำสั่ง ซึ่งอยู่ในรูปแบบที่เครื่องสามารถรับได้ แล้วทำการคำนวณเคลื่อนย้ายข้อมูล ทำการเปรียบเทียบจนได้ผลลัพธ์ที่ต้องการ" คอมพิวเตอร์ เป็นเครื่องจักรอิเล็กทรอนิกส์ ที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อใช้ทำงานแทนมนุษย์ในด้านการคิดคำนวณ และสามารถจำข้อมูลทั้งตัวเลขและตัวอักษรได้ เพื่อการเรียกใช้งานในครั้งต่อไป นอกจากนี้ยังสามารถจัดการกับสัญญลักษณ์ได้ด้วยความเร็วสูง โดยปฏิบัติตามขั้นตอนของโปรแกรม (ยุพิน ไทยรัตทานนท์ อ้างใน กิดานันท์ มลิทอง, 2531:160) จึงกล่าวได้ว่าคอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ถูกสร้างขึ้น เพื่อใช้ประมวลผล โดยการรับข้อมูล และคำสั่งโดยอุปกรณ์รับข้อมูล นำข้อมูลต่าง ๆ ไปทำการประมวลผล ซึ่งได้แก่ การบันทึก เรียงลำดับ แยกประเภท คำนวณ สรุป ทำสำเนาหรือเรียกข้อมูลมาใช้ รวมถึงการส่งข้อมูลทางไกล เมื่อเครื่องคอมพิวเตอร์ทำการประมวลผลเสร็จ จะแสดงผลลัพธ์ทางหน่วยแสดงผลในรูปลักษณะต่าง ๆ ผ่านอุปกรณ์แสดงผล จากความหมายของคอมพิวเตอร์ จะเห็นได้ว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ มีขั้นตอนการทำงาน 3 ขั้นตอนด้วยกัน คือ
11.1.1 รับโปรแกรมและข้อมูล โปรแกรมในที่นี้หมายถึงชุดของคำสั่งที่จะให้คอมพิวเตอร์ทำงาน เรียกว่า โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ส่วนข้อมูลอาจจะเป็นตัวเลขหรือตัวหนังสือที่ต้องการให้คอมพิวเตอร์ทำการประมวลผล
11.1.2 ทำการประมวลผล หมายถึงการจัดระเบียบแบบแผนของข้อมูล เพื่อใหได้ผลลัพธ์ที่ต้องการ ซึ่งทำได้โดยการคำนวณ เปรียบเทียบวิเคราะห์โดยใช้สูตรทางวิทยาศาสตร์หรือคณิตศาสตร์วิธีการเหล่านี้ ทำได้โดยอาศัยคำสั่งหรือโปรแกรมที่เขียนขึ้น
11.1.3 แสดงผลลัพธ์ คือการนำผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลมาแสดงในรูปแบบต่าง ๆ โดยอาจจะแสดงทางจอภาพ บนกระดาษหรือวัสดุอื่น ๆ หรือจัดเก็บในแผ่นบันทึกข้อมูล (Diskette)

ไม่มีความคิดเห็น: